Hello....HENGLISH PROGRAM

Nakhon Pathom Rajabhat University

งานประกันคุณภาพ

การประกันคุณภาพการศึกษา ระดับอุดมศึกษา

ความจำเป็นและวัตถุประสงค์ของการประกันคุณภาพการศึกษา  ระดับอุดมศึกษา

  1. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 พ.ศ. 2545 กำหนดให้สถานศึกษาทุกแห่งจัดให้มีระบบและการประเมินการประกันคุณภาพศึกษาภายใน
  2. กระทรวงศึกษาประกาศใช้กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (TQF) เพื่อเป็นการประกันคุณภาพการจัดการศึกษา และบัณฑิตในแต่ละระดับคุณวุฒิและสาขาวิชาในระดับอุดมศึกษา  ให้มีคุณภาพในระดับมาตรฐานเดียวกัน
  3. เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจแก่สังคมว่า มหาวิทยาลัยสามารถพัฒนาองค์ความรู้และผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพได้ตามมาตรฐานที่กำหนดและตอบสนองต่อยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศได้ในระดับสากล
  4. เพื่อตรวจสอบและประเมินการดำเนินงานของภาควิชา คณะวิชาหรือหน่วยงาน และให้หน่วยงานทราบสถานภาพของตนเองอันจะเป็นแนวทางในการพัฒนา เสริมจุดแข็งและพัฒนาจุดที่ควรปรับปรุงคุณภาพไปสู่เป้าหมาย
  5. เพื่อให้หน่วยงานต้นสังกัดของสถาบันอุดมศึกษามีข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการสนับสนุนกรจัดการศึกษาในระดับอุดมศึกษา และให้ข้อมูลสาธารณะที่เป็นประโยชน์ต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

บทบาทและหน้าที่ของนักศึกษาโปรแกรมวิชาภาษาอังกฤษต่อการประกันคุณภาพการศึกษา

  1. มีความรู้ความเข้าใจถึงความสำคัญของการประกันคุณภาพการศึกษา
  2. มีความรู้ความเข้าใจภาพรวมขององค์กรหรือหน่วยงาน ทั้งในด้านข้อมูลพื้นฐาน ปรัชญา วิสัยทัศน์  พันธกิจ และการดำเนินกิจกรรมในด้านต่างๆ
  3. ตระหนักในบทบาทและหน้าที่ของตนเองและให้ความร่วมมือในการประกันคุณภาพการศึกษาซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนให้การประกันคุณภาพการศึกษาบรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้

 

แผนการประกันคุณภาพ 1 มิถุนายน 2554 – 31 พฤษภาคม 2555

องค์ประกอบที่ 1  ปรัชญา ปณิธาน วัตถุประสงค์ และแผนดำเนินงาน

  1. จัดทำตารางความสอดคล้องของแผนยุทธศาสตร์โปรแกรมวิชา กับแผนคณะฯ  มหาวิทยาลัย
  2. จัดทำตารางแสดงตัวชี้วัดและเป้าหมายในการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์โปรแกรมวิชา ปี 2554-2555
  3. จัดทำแผนปฏิบัติงานประจำปี
  4. อาจารย์ทุกท่านกรุณาส่งสรุปโครงการที่ดำเนินไปทุกครั้ง    (1 เดือนหลังทำโครงการ)  จะขอให้รายงานผลแก่ที่ประชุมเทอมละ 1 ครั้ง  เพื่อหาแนวทางปรับปรุงในการจัดครั้งต่อไป และแนวทางในการปรับปรุงแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติงานประจำปี—บันทึกการประชุม

องค์ประกอบที่ 2  การผลิตบัณฑิต

ตัวบ่งชี้ 2.1 ระบบและกลไกการพัฒนาหลักสูตร

  1. สำเนาคำสั่งแต่งตั้งกรรมการหลักสูตร
  2. บันทึกการวิภาคหลักสูตร
  3. บันทึกการประชุมการปรับปรุงหลักสูตร

ฯลฯ

ตัวบ่งชี้ 2.2 อาจารย์ประจำที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก

ตารางจำแนกวุฒิการศึกษาของอาจารย์

ตัวบ่งชี้ 2.3 อาจารย์ประจำที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ

ตารางจำแนกอาจารย์ที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ

ตัวบ่งชี้ 2.6 ระบบและกลไกการจัดการเรียนการสอน (หน้า 117)

  1. มคอ 3 และ มคอ 5 – ข้อเสนอแนะสำหรับอาจารย์ใหม่ เวลาออกแบบ มคอ 3 ดูหลักการจัดการเรียนการสอนในคู่มือตั้งแต่หน้า 117 เพื่อจะได้จัดกิจกรรมได้สอดคล้องกับข้อกำหนด ต่างๆ
  2. ใน มคอ 3 ขอให้ทุกท่านเขียนเพิ่มว่าได้นำผลการประเมินจากนักศึกษา หรือ ใน มคอ 5 มาปรับปรุงในการทำ มคอ 3 อย่างไร
  3. หัวข้อที่ 3 หน้า 118 รายวิชาที่ส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเอง และการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากการปฏิบัติจริงทั้งในและนอกห้องเรียนหรือจากการทำวิจัย --หากวิชาที่ท่านสอนสามารถสอดแทรกสิ่งเหล่านี้เป็นรูปธรรมได้ เช่น วิชา การศึกษาเอกเทศ  การจัดค่ายภาษาอังกฤษ  การวิจัยในชั้นเรียน  กรุณาเขียนให้เห็นอย่างชัดเจนใน มคอ 3 และแนวการสอน
  4. หัวข้อที่ 5 ในคู่มือหน้า 119 มีการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาจากการวิจัย หรือจากกระบวนการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน โปรแกรมวิชาขอส่งเสริมให้อาจารย์ทำวิจัยในชั้นเรียนทุกเทอมการศึกษา หรือหนึ่งเรื่องต่อปีการศึกษา
  5. หัวข้อที่ 5 ในคู่มือหน้า 119 โปรแกรมวิชาจะต้องจัดให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เกี่ยวกับการวิจัยและประสบการณ์การจัดการเรียนการสอนระหว่างอาจารย์ เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง
  6. แนวการสอน – ส่งทุกภาคเรียนดังเช่นที่ผ่านมา

ตัวบ่งชี้ 2.7 ระบบและกลไกการพัฒนาสัมฤทธิผลการเรียนตามคุณลักษณะของบัณฑิต (หน้า 120)

  1. จัดหาหลักฐานคำของบประมาณ และการอนุมัติงบประมาณในการจัดทำหลักสูตร
  2. หัวข้อที่ 3 หน้า 121 มีการส่งเสริมสนับสนุนทรัพยากรทั้งด้านบุคลากร เทคโนโลยีสารสนเทศ และงบประมาณที่เอื้อต่อการพัฒนาคุณลักษณะของบัณฑิต โปรแกรมวิชาจะดำเนินการดังนี้2.1 จัดให้นักศึกษาวิชาเอก ได้เข้าใช้ห้องคอมพิวเตอร์ได้ในช่วงที่ไม่มีการเรียนการสอน  ---จัดทำตารางการใช้ห้อง  และให้นักศึกษาลงชื่อเวลาที่เข้าใช้

2.2    จัดทำเว็ปไซต์ของโปรแกรมวิชาให้เสร็จภายในต้นเทอม 2/2554 เพื่อให้นักศึกษาและอาจารย์มีการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้   เช่น ลงข่าวสารการประชุมทางวิชาการ การแข่งขัน ให้อาจารย์เขียนสรุปสาระจากการสัมมนา  และนักศึกษาแต่ละหมู่เรียนผลัดกัน post คำศัพท์สำนวนภาษาอังกฤษที่เป็นประโยชน์   เผยแพร่คุณธรรมจริยธรรมสำหรับนักศึกษาที่ต้องการส่งเสริม  (ตามตัวบ่งชี้ที่ 2.8 ข้อ 2)  เป็นต้น

  1. หัวข้อที่ 4 หน้า 121  มีระบบและกลไกการส่งเสริมให้นักศึกษา เข้าร่วมกิจกรรมการประชุมวิชาการหรือนำเสนอผลงานทางวิชาการในที่ประชุมระหว่างสถาบัน หรือที่ประชุมระดับชาติหรือนานาชาติ โปรแกรมวิชาขอความกรุณาอาจารย์ผู้สอนรายวิชาที่สามารถสอดแทรกกิจกรรมดังกล่าว  เขียนระบุกิจกรรมเหล่านี้ใน มคอ 3  และ มคอ 5  และแนวการสอนของท่าน  เช่น วิชาการศึกษาเอกเทศ  ในภาค 1/2554 นี้ อ. ณัฐกฤตา  ได้พานักศึกษาเข้าร่วมประชุม NPRU แล้ว  และได้จัดกิจกรรมที่ฝึกทักษะการนำเสนอผลงานทางวิชาการ  และได้สนับสนุนให้นักศึกษาส่งผลงานทางวิชาการให้ที่ประชุมวิชาการต่างๆ พิจารณา – ทำโครงการ

ตัวบ่งชี้ที่ 2.8 ระดับความสำเร็จของการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมที่จัดให้กับนักศึกษา

1. จัดโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม ให้แก่นักศึกษา – รายละเอียดประชุมในโอกาสต่อไป—ทำโครงการ

องค์ประกอบที่ 3  กิจกรรมการพัฒนานักศึกษา (หน้า 123)

ตัวบ่งชี้ที่ 3.1 ระบบและกลไกการให้คำปรึกษาและบริการด้านข้อมูลข่าวสาร

  1. จัดทำฐานข้อมูลนักศึกษา
  2. ข้อที่ 4 หน้า 125 จัดบริการข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อศิษย์เก่าและมีช่องทางให้เขาได้ให้ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงการให้บริการ – ทางเว็ปไซต์

และขอให้ อ. ที่ปรึกษา ปี 4 และ 5 เก็บฐานข้อมูลศิษย์เก่า

  1. ข้อที่ 5 หน้า 125 จัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาความรู้และประสบการณ์ให้ศิษย์เก่า  -- ประชาสัมพันธ์ทางเว็ปไซต์ให้ศิษย์เก่าเข้าร่วมโครงการสัมมนาการสอน  ในภาค 2/2554  หรือในภาคอื่น เช่น TOEIC  ให้ลงนามและเก็บภาพถ่ายเป็นหลักฐาน
  2. จัดทำแบบสอบถามประเมินคุณภาพการให้บริการ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนาการจัดบริการที่สนองความต้องการของนักศึกษา

ตัวบ่งชี้ที่ 3.2 ระบบและกลไกการส่งเสริมกิจกรรมนักศึกษา

โปรแกรมวิชา ทำข้อ 4 และ 6 ไม่ได้

องค์ประกอบที่ 4 การวิจัย (หน้า 129)

ข้อคิดเห็นจากกรรมการประเมินรอบที่ผ่านมาคือ ขาดกลไก หรือวิธีการส่งเสริม -- วางแผนการส่งเสริมการทำวิจัยของอาจารย์อย่างเป็นรูปธรรม

องค์ประกอบที่ 5 การบริการวิชาการแก่สังคม (หน้า 135)

  1. หัวข้อที่ 2 -- หลักฐานจากรายวิชาค่ายภาษาอังกฤษ ของ อ. Imelda
  2. หัวข้อที่ 3 – หลักฐานจากรายวิชาการศึกษาเอกเทศ
  3. หัวข้อที่ 4 และ 5 บูรณาการงานบริการวิชาการกับการเรียนการสอนและการวิจัย – วิชาค่ายภาษาอังกฤษ อาจารย์ผู้สอนทำวิจัยในชั้นเรียน ปีการศึกษาหน้า
  4. กรรมการจัดแผนการบริการวิชาการและประเมินผล  ตลอดจนประชาสัมพันธ์

องค์ประกอบที่ 6 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม (หน้า 137)

หัวข้อที่ 2 หน้า 137 – รายวิชาวัฒนธรรมผู้พูดภาษาอังกฤษ ภูมิหลังฯ  และการสอนวัฒนธรรมฯ  ขอให้ผู้สอนเขียนเพิ่มใน มคอ และแนวการสอนว่านักศึกษาต้องจัดกิจกรรมเทศกาลต่างๆ   โดยให้นักศึกษาเขียนโครงการส่งอาจารย์ และโปรแกรมวิชา   มีการประเมินโครงการโดยผู้สอน นักศึกษาที่มาร่วมกิจกรรม และคณะกรรมการ  เพื่อนำผลไปพัฒนาการจัดการเรียนการสอน (มคอ 5)  และปรับปรุงแผนอย่างต่อเนื่อง


 

แผนการพัฒนาการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน

โปรแกรมวิชาภาษาอังกฤษ ปี 2554-2555

ระยะเวลา

แผนการดำเนินการ

มิถุนายน-สิงหาคม 2554

ประชุม สังเคราะห์จุดอ่อนและแนวทางแก้ไข

กันยายน-พฤศจิกายน 2554

จัดทำแผนปฏิบัติงาน Improvement Plan

ธันวาคม 2554

ติดตาม ควบคุม ดำเนินการ จัดทำรายงานการประเมินตนเอง และจัดเก็บหลักฐานตามตัวบ่งชี้ (รอบ 6 เดือน)

มกราคม-มีนาคม 2555

ประชุม สังเคราะห์จุดอ่อนและแนวทางแก้ไข

เมษายน-พฤษภาคม 2555

ติดตาม ควบคุม ดำเนินการ จัดทำรายงานการประเมินตนเอง และจัดเก็บหลักฐานตามตัวบ่งชี้ (รอบ 1 ปี)

มิถุนายน 2555

รับการตรวจประเมินตามข้อซักถามของกรรมการ

มิถุนายน-กรกฎาคม 2555

ดำเนินการสรุปผลการประเมินการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน

สิงหาคม 2555

สังเคราะห์ผลการประเมินการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน


 

แนวปฏิบัติการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน

ปรแกรมวิชาภาษาอังกฤษ ปี 2554-2555

ผู้กำกับดูแลตัวบ่งชี้และผู้รวบรวมข้อมูล

ประกอบด้วย

ประธานโปรแกรมวิชาภาษาอังกฤษ

อาจารย์โปรแกรมวิชาภาษาอังกฤษ

หน้าที่

- ประชุม สังเคราะห์จุดอ่อนและแนวทางแก้ไข ของการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน

- จัดทำแผนปฏิบัติงาน Improvement Plan

- ติดตาม ควบคุม ดำเนินการ และจัดเก็บหลักฐานตามตัวบ่งชี้

- รับการตรวจประเมิน ตามข้อซักถามของกรรมการ

- ดำเนินการสรุปผลการประเมินการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน



- สังเคราะห์ผลการประเมินการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน